ข้อทุกท้วงของสรรพากร กับความผิดทางละเมิด


ความผิดทางละเมิด ส่วนใหญ่ เราจะรู้จักกันแต่ในงานด้านช่าง การควบคุมงาน เป็นต้น วันนี้ได้มีโอกาสประชุมหัวหน้าส่วนราชการ ประธานในที่ประชุม ได้หยิบยกตัวอย่าง การละเมิด กรณีกรมสรรพากร ชี้มูลความผิดมายัง อปท.


อปท.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา ออกแบบอาคารที่ทำการ โดยที่ทุกอย่างถูกต้องเสร็จสิ้น พร้อมจ่ายเงินให้แก่ที่ปรึกษาเรียบร้อย (ตามระเบียบทุกประการ) ต่อมา สรรพากรไดีมีหนังสือขอให้ ผอ.คลัง จัดเก็บภาษีจากที่ปรึกษา ซึ่ง ไม่ได้เรียกเก็บ สรรพากรจึงชี้มูลให้ สตง.เข้าตรวจสอบกรณีดังกล่าว พบว่าไม่ได้จ่ายจริง

มีคำถามต่อมาว่า กรมสรรพากร มิใช่หน่วยงานที่จะเข้ามากำกับดูแล อปท. แต่ทำไมจึงชี้มูลเช่นนี้ กลับไปดูระเบียบของสรรพากร ซึ่งเขาสามารถท้วงติงให้ อปท.ทำตามที่เขาท้วงติงได้ ระเบียบกฎหมายเขาระบุไว้ ซึ่งตัวผมเองก็เพิ่งจะรู้เหมือนกัน(ในที่ประชุม)

ผลสรุปออกมา นายก , ปลัด , ผอ.คลัง , ผอ.ช่าง ให้ออกจากราชการ แถมยังมีข้อหาละเมิด ต้องจ่ายคนละ 1 แสนกว่าบาท ผอ.คลังโดนอาญาตาม หนักกว่าเพื่อน

กรณีตัวอย่างที่ยกขึ้นมาให้พี่น้องช่างได้ทราบกันนี้ มันได้เกิดขึ้นจริง ณ จังหวัดแห่งหนึ่ง(ไม่ขอเอ่ยถึง) ทำให้เราได้รู้ว่า ผอ.ช่าง ก็ต้องรับข้อหาละเมิดด้วย ดูไปแล้วไม่น่าจะเกิดขึ้นกับเราเลย อยากจะนำบทความนี้ ได้ตีแผ่ต่อสังคมช่าง อปท. ได้ตระหนักถึงระเบียบ-กฎหมาย ของกรม , กระกรวงอื่นๆด้วยครับ

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ23 พฤษภาคม 2557 เวลา 13:49

    งง ผอ.ช่างโดนเพราะอะไรครับในเมื่อการจัดเก็บภาษีจากที่ปรึกษามันเป็นหน้าที่ของส่วนการคลัง งานจัดเก็บรายได้ ซึ่งก็ไม่น่าจะเกี่ยวกับงานช่างไม่ใช่หรือครับ

    ตอบลบ
  2. ก็ งง? เหมือนกันว่าโดนเพราะอะไร เขาบอกว่า ข้อหา ละเมิด

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.