การยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะ
เมื่อยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะแล้วประชาชนจะใช้หรือไม่ใช้มันก็ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินวันยังค่ำ ไม่มีทางกลับมาเป็นของเจ้าของเดิมอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๖๑๖/๒๕๑๗
โจทก์ฟ้องว่า
.....(๑)ทางเดินสาธารณะยาวประมาณ 300 เมตร กว้าง 8 เมตรซึ่งโจทก์และประชาชนใช้เดินมานานแล้ว
.....(๒)เจ้าของที่ดินทางสาธารณะนี้รวมทั้งโจทก์จำเลยได้ทำหนังสือยกที่ดินที่เป็นทางเดินดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะ
......(๓)เทศบาลตำบลปากแพรกได้ดำเนินการสร้าง ตัด วางแนวไว้เรียบร้อยแล้ว โจทก์และประชาชนได้ใช้ทางสายนี้ตลอดมา
.....(๔)ต่อมาจำเลยได้ปิดกั้นและทำรั้วลวดหนามรอบที่ดินจำเลยปิดกั้นทางเดินสาธารณะ โจทก์และประชาชนไม่อาจใช้ทางเดินนี้ได้ โจทก์เดือดร้อนและเสียหายไปมาไม่สะดวก ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนและเรียกค่าเสียหาย
.....(๕)จำเลยให้การว่า ไม่เคยมีทางสาธารณะผ่านที่ดินจำเลย โจทก์กับเทศบาลสมคบกันขุดร่องเป็นเขตทางกว้าง 8 เมตร จำเลยจึงไปห้ามและเทศบาลก็มิได้จัดการอะไรต่อไป โจทก์และประชาชนมิได้ใช้เป็นทางเดิน ต่อมาจำเลยได้ขอรังวัดออกโฉนดที่ดินของจำเลย ก็ไม่มีผู้ใดคัดค้านเรื่องทางสาธารณะ ทางราชการได้ออกโฉนดให้แล้ว คดีโจทก์ขาดอายุความ จำเลยไม่เคยยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะ
.....(๖)ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยทำหนังสือยกที่ดินให้เทศบาลตำบลปากแพรกทำถนนผ่านที่ดินจำเลย เจ้าหน้าที่กรุยทางผ่านที่ดินจำเลยแล้วแต่ยังไม่เป็นทางสาธารณะ เพราะประชาชนยังมิได้ใช้พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ฟังได้ว่า
.....(๑)จำเลยได้อุทิศที่ดินเพื่อประโยชน์สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้ว ที่ดินส่วนนั้นย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
.....(๒)จำเลยไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท พิพากษากลับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางพิพาทออก และให้ใช้ค่าเสียหาย
จำเลยฎีกา ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า
....(๑)ที่ดินของโจทก์จำเลยและผู้อื่นอีก 4 - 5 รายตั้งอยู่ระหว่างถนนประชาอุทิศกับลำห้วย เดิมเป็นที่นา เจ้าของที่ดินอาศัยเดินตามคันนาไปยังที่ของตนได้
.....(๒)พ.ศ. 2506 โจทก์ได้ชักชวนจำเลยและเจ้าของที่ดินอื่น ๆ ให้อุทิศที่ดินเพื่อทำถนนแยกจากถนนประชาอุทิศผ่านที่ดินเหล่านี้ โดยทำหนังสืออุทิศที่ดินไว้ตามเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.7
.....(๓)เว้นนางแพร้วคนเดียวไม่ยอมอุทิศที่ดิน โจทก์กับพวกจึงออกเงินซื้อที่ดินของนางแพร้วตามแนวถนนผ่าน
.....(๔)ปลายปี พ.ศ. 2507 เทศบาลตำบลปากแพรกได้ทำแนวทางโดยขุดร่องกว้าง 50 เซนติเมตรทั้งสองข้างแนวทาง ตั้งต้นที่ถนนประชาอุทิศตัดตรงไปทางทิศตะวันออก ผ่านที่ดินโจทก์จำเลยและคนอื่น ๆ ไปจนจดลำห้วย
.....(๕)ปัญหาว่า แนวทางพิพาทดังกล่าวเป็นทางสาธารณะหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าตามบันทึกคำแสดงเจตนาอุทิศที่ดินให้เป็นถนนสาธารณประโยชน์ เอกสาร จ.1
.....(๖)มีข้อความชัดเจนอยู่แล้วว่า จำเลยยอมยกที่ดินให้ทางราชการจัดการเข้าทำการสร้างถนนสาธารณะได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
.....(๗)และเทศบาลตำบลปากแพรกก็ได้ยอมรับที่ดินที่จำเลยอุทิศแล้วโดยเทศบาลตำบลปากแพรกได้ให้คนงานกรุยขอบทางจนรู้เขตแน่นอนแล้วว่าที่ดินที่โจทก์จำเลยและคนอื่น ๆ อุทิศให้เป็นทางสาธารณะอยู่ตรงไหน
.....(๘)แม้ทางเทศบาลตำบลปากแพรกจะยังมิได้ทำถนนตามแนวทางพิพาททางพิพาทก็ตกเป็นทางสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว
.....(๙)การที่จำเลยขอให้ทางการออกโฉนดทับแนวทางพิพาทในภายหลังก็ดีการที่จำเลยกั้นรั้วปิดแนวทางพิพาทเสียก็ดีไม่ทำให้แนวทางพิพาทกลับคืนมาเป็นของจำเลยอีกได้ พิพากษายืน
แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๖๑๖/๒๕๑๗
โจทก์ฟ้องว่า
.....(๑)ทางเดินสาธารณะยาวประมาณ 300 เมตร กว้าง 8 เมตรซึ่งโจทก์และประชาชนใช้เดินมานานแล้ว
.....(๒)เจ้าของที่ดินทางสาธารณะนี้รวมทั้งโจทก์จำเลยได้ทำหนังสือยกที่ดินที่เป็นทางเดินดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะ
......(๓)เทศบาลตำบลปากแพรกได้ดำเนินการสร้าง ตัด วางแนวไว้เรียบร้อยแล้ว โจทก์และประชาชนได้ใช้ทางสายนี้ตลอดมา
.....(๔)ต่อมาจำเลยได้ปิดกั้นและทำรั้วลวดหนามรอบที่ดินจำเลยปิดกั้นทางเดินสาธารณะ โจทก์และประชาชนไม่อาจใช้ทางเดินนี้ได้ โจทก์เดือดร้อนและเสียหายไปมาไม่สะดวก ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนและเรียกค่าเสียหาย
.....(๕)จำเลยให้การว่า ไม่เคยมีทางสาธารณะผ่านที่ดินจำเลย โจทก์กับเทศบาลสมคบกันขุดร่องเป็นเขตทางกว้าง 8 เมตร จำเลยจึงไปห้ามและเทศบาลก็มิได้จัดการอะไรต่อไป โจทก์และประชาชนมิได้ใช้เป็นทางเดิน ต่อมาจำเลยได้ขอรังวัดออกโฉนดที่ดินของจำเลย ก็ไม่มีผู้ใดคัดค้านเรื่องทางสาธารณะ ทางราชการได้ออกโฉนดให้แล้ว คดีโจทก์ขาดอายุความ จำเลยไม่เคยยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะ
.....(๖)ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยทำหนังสือยกที่ดินให้เทศบาลตำบลปากแพรกทำถนนผ่านที่ดินจำเลย เจ้าหน้าที่กรุยทางผ่านที่ดินจำเลยแล้วแต่ยังไม่เป็นทางสาธารณะ เพราะประชาชนยังมิได้ใช้พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ฟังได้ว่า
.....(๑)จำเลยได้อุทิศที่ดินเพื่อประโยชน์สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้ว ที่ดินส่วนนั้นย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
.....(๒)จำเลยไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท พิพากษากลับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางพิพาทออก และให้ใช้ค่าเสียหาย
จำเลยฎีกา ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า
....(๑)ที่ดินของโจทก์จำเลยและผู้อื่นอีก 4 - 5 รายตั้งอยู่ระหว่างถนนประชาอุทิศกับลำห้วย เดิมเป็นที่นา เจ้าของที่ดินอาศัยเดินตามคันนาไปยังที่ของตนได้
.....(๒)พ.ศ. 2506 โจทก์ได้ชักชวนจำเลยและเจ้าของที่ดินอื่น ๆ ให้อุทิศที่ดินเพื่อทำถนนแยกจากถนนประชาอุทิศผ่านที่ดินเหล่านี้ โดยทำหนังสืออุทิศที่ดินไว้ตามเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.7
.....(๓)เว้นนางแพร้วคนเดียวไม่ยอมอุทิศที่ดิน โจทก์กับพวกจึงออกเงินซื้อที่ดินของนางแพร้วตามแนวถนนผ่าน
.....(๔)ปลายปี พ.ศ. 2507 เทศบาลตำบลปากแพรกได้ทำแนวทางโดยขุดร่องกว้าง 50 เซนติเมตรทั้งสองข้างแนวทาง ตั้งต้นที่ถนนประชาอุทิศตัดตรงไปทางทิศตะวันออก ผ่านที่ดินโจทก์จำเลยและคนอื่น ๆ ไปจนจดลำห้วย
.....(๕)ปัญหาว่า แนวทางพิพาทดังกล่าวเป็นทางสาธารณะหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าตามบันทึกคำแสดงเจตนาอุทิศที่ดินให้เป็นถนนสาธารณประโยชน์ เอกสาร จ.1
.....(๖)มีข้อความชัดเจนอยู่แล้วว่า จำเลยยอมยกที่ดินให้ทางราชการจัดการเข้าทำการสร้างถนนสาธารณะได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
.....(๗)และเทศบาลตำบลปากแพรกก็ได้ยอมรับที่ดินที่จำเลยอุทิศแล้วโดยเทศบาลตำบลปากแพรกได้ให้คนงานกรุยขอบทางจนรู้เขตแน่นอนแล้วว่าที่ดินที่โจทก์จำเลยและคนอื่น ๆ อุทิศให้เป็นทางสาธารณะอยู่ตรงไหน
.....(๘)แม้ทางเทศบาลตำบลปากแพรกจะยังมิได้ทำถนนตามแนวทางพิพาททางพิพาทก็ตกเป็นทางสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว
.....(๙)การที่จำเลยขอให้ทางการออกโฉนดทับแนวทางพิพาทในภายหลังก็ดีการที่จำเลยกั้นรั้วปิดแนวทางพิพาทเสียก็ดีไม่ทำให้แนวทางพิพาทกลับคืนมาเป็นของจำเลยอีกได้ พิพากษายืน
แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
Leave a Comment